การทำงานของ ไตรแอก (Triac)
ไตรแอก (Triac) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำจำพวกไทริสเตอร์ (Thyristor) อีกชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ SCR แต่สามารถนำกระแสได้สองทิศทาง โดยมีคุณสมบัติเป็นสวิตช์ทางอิเล็กทรอนิกส์
Triac จะสามารถนำไปใช้ควบคุมกำลังไฟฟ้าของโหลดไฟฟ้ากระแสสลับ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมความเร็วของมอเตอร์ ควบคุมแสงสว่างของหลอดไฟฟ้า (Light dimmer) ควบคุมความร้อนของขดลวดความร้อนในเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า หรืองานเกี่ยวกับด้านเครื่องมือแพทย์
Triac ประกอบดัวยรอยต่อของสารกึ่งตัวนำ ซิลิกอน P และ N มีขาต่อออกมาสำหรับใช้งานภายนอก 3 ขา ประกอบด้วย เกต (Gate ;G) แอโนด1 (Anode 1 ; A1 ) และ แอโนด 2 (Anode 2 ; A2 ) ในส่วนของขา A1 และ A2 อาจเขียนเป็น MT1 และ MT2 ก็ได้โดย MT มาจากคำว่า Main terminal
โครงสร้าง สัญลักษณ์ของ Triac และการใช้ SCR 2 ตัวต่อสวนทางกัน
การนำไฟฟ้าของ ขา A1, ขา A2 ก็ต่อเมื่อมีกระแสไฟฟ้ามาทริกที่ขา Gate เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้ามาทริกที่ขา Gate ขา A1, ขา A2 จะไม่นำไฟฟ้า
วิธีการตรวจสอบ Triac
1. ตั้งมัลติมิเตอร์แบบเข็มไปย่านโอห์ม
ข้่ว + ของมิเตอร์อยู่ขาที่ A2 ขั่ว – อยู่ขาที A1 ได้ค่าความต้านทานสูง
2. ตั้งมัลติมิเตอร์แบบเข็มไปย่านโอห์ม
ข้่ว + ของมิเตอร์อยู่ขาที่ A1 ขั่ว – อยู่ขาที A2 ได้ค่าความต้านทานสูง (สลับขาวัดก็ได้ค่าเดิม)
3. ตั้งมัลติมิเตอร์แบบเข็มไปย่านโอห์ม
ข้่ว + ของมิเตอร์อยู่ขาที่ G ขั่ว – อยู่ขาที A2 ได้ค่าความต้านทานสูง
4. ตั้งมัลติมิเตอร์แบบเข็มไปย่านโอห์ม
ข้่ว + ของมิเตอร์อยู่ขาที่ A2 ขั่ว – อยู่ขาที G ได้ค่าความต้านทานสูง (สลับขาวัดก็ได้ค่าเดิม)
5. ตั้งมัลติมิเตอร์แบบเข็มไปย่านโอห์ม
ข้่ว + ของมิเตอร์อยู่ขาที่ G ขั่ว – อยู่ขาที A1 ได้ค่าความต้านทานค่าหนึ่ง
6. ตั้งมัลติมิเตอร์แบบเข็มไปย่านโอห์ม
ข้่ว + ของมิเตอร์อยู่ขาที่ A1 ขั่ว – อยู่ขาที G ได้ค่าความต้านทานค่าหนึ่ง (สลับขาวัดก็ได้ค่าเดิม)
7. ตั้งมัลติมิเตอร์แบบเข็มไปย่านโอห์ม
ข้่ว + ของมิเตอร์อยู่ขาที่ A2 ขั่ว – อยู่ขาที A1 ได้ค่าความต้านทานสูง และเมื่อทริกขา G กับขา A2 จะได้ค่าความต้านทานหนึ่ง
8. ตั้งมัลติมิเตอร์แบบเข็มไปย่านโอห์ม
ข้่ว + ของมิเตอร์อยู่ขาที่ A2 ขั่ว – อยู่ขาที A1 ได้ค่าความต้านทานสูง และเมื่อทริกขา G กับขา A1 จะได้ค่าความต้านทานหนึ่ง (สลับขาทริกก็ได้ค่าเดิม)
How Triac Works and Testing ไตรแอกทำงาน ทดสอบอย่างไร
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น