ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การทำงานของ ไตรแอก (Triac)

การทำงานของ ไตรแอก (Triac)

ไตรแอก (Triac) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำจำพวกไทริสเตอร์ (Thyristor) อีกชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ SCR แต่สามารถนำกระแสได้สองทิศทาง โดยมีคุณสมบัติเป็นสวิตช์ทางอิเล็กทรอนิกส์

 สามารถควบคุมขนาดของกระแสและแรงดันที่จ่ายให้กับโหลดได้ อีกทั้งในการควบคุมการทำงานได้ง่าย ไม่เกิดประกายไฟจากหน้าสัมผัส เพราะอาศัยการเคลื่อนที่ของกระแสอิเล็กตรอนผ่านรอยต่อสารกึ่งตัวนำ Triac เป็นอุปกรณ์ Thyristor อีกชนิดหนึ่ง มีขา 3 ขา คือ Anode 1 , Anode 2 และ Gate สามารถนำกระแสได้ 2 ทิศทาง
Triac จะสามารถนำไปใช้ควบคุมกำลังไฟฟ้าของโหลดไฟฟ้ากระแสสลับ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมความเร็วของมอเตอร์ ควบคุมแสงสว่างของหลอดไฟฟ้า (Light dimmer) ควบคุมความร้อนของขดลวดความร้อนในเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า หรืองานเกี่ยวกับด้านเครื่องมือแพทย์
Triac ประกอบดัวยรอยต่อของสารกึ่งตัวนำ ซิลิกอน P และ N มีขาต่อออกมาสำหรับใช้งานภายนอก 3 ขา ประกอบด้วย เกต (Gate ;G) แอโนด1 (Anode 1 ; A1 ) และ แอโนด 2 (Anode 2 ; A2 ) ในส่วนของขา A1 และ A2 อาจเขียนเป็น MT1 และ MT2 ก็ได้โดย MT มาจากคำว่า Main terminal 
โครงสร้าง สัญลักษณ์ของ Triac และการใช้ SCR 2 ตัวต่อสวนทางกัน

การนำไฟฟ้าของ ขา A1, ขา A2 ก็ต่อเมื่อมีกระแสไฟฟ้ามาทริกที่ขา Gate เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้ามาทริกที่ขา Gate  ขา A1, ขา A2 จะไม่นำไฟฟ้า






เมื่อมีกระแสไฟฟ้ามาทริกที่ขา Gate ขา A1, ขา A2 จะนำไฟฟ้า 







วิธีการตรวจสอบ Triac
วิธีการตรวจสอบ Triac ใช้โอห์มมิเตอร์กระทำ ได้ดังนี้
1. ตั้งมัลติมิเตอร์แบบเข็มไปย่านโอห์ม
ข้่ว + ของมิเตอร์อยู่ขาที่ A2 ขั่ว – อยู่ขาที A1 ได้ค่าความต้านทานสูง
2. ตั้งมัลติมิเตอร์แบบเข็มไปย่านโอห์ม
ข้่ว + ของมิเตอร์อยู่ขาที่ A1 ขั่ว – อยู่ขาที A2 ได้ค่าความต้านทานสูง (สลับขาวัดก็ได้ค่าเดิม)
3. ตั้งมัลติมิเตอร์แบบเข็มไปย่านโอห์ม
ข้่ว + ของมิเตอร์อยู่ขาที่ G ขั่ว – อยู่ขาที A2 ได้ค่าความต้านทานสูง 
4. ตั้งมัลติมิเตอร์แบบเข็มไปย่านโอห์ม
ข้่ว + ของมิเตอร์อยู่ขาที่ A2 ขั่ว – อยู่ขาที G ได้ค่าความต้านทานสูง (สลับขาวัดก็ได้ค่าเดิม)
5. ตั้งมัลติมิเตอร์แบบเข็มไปย่านโอห์ม
ข้่ว + ของมิเตอร์อยู่ขาที่ G ขั่ว – อยู่ขาที A1 ได้ค่าความต้านทานค่าหนึ่ง
6. ตั้งมัลติมิเตอร์แบบเข็มไปย่านโอห์ม
ข้่ว + ของมิเตอร์อยู่ขาที่ A1 ขั่ว – อยู่ขาที G ได้ค่าความต้านทานค่าหนึ่ง (สลับขาวัดก็ได้ค่าเดิม)






7. ตั้งมัลติมิเตอร์แบบเข็มไปย่านโอห์ม
ข้่ว + ของมิเตอร์อยู่ขาที่ A2 ขั่ว – อยู่ขาที A1 ได้ค่าความต้านทานสูง และเมื่อทริกขา G กับขา A2 จะได้ค่าความต้านทานหนึ่ง
8. ตั้งมัลติมิเตอร์แบบเข็มไปย่านโอห์ม
ข้่ว + ของมิเตอร์อยู่ขาที่ A2 ขั่ว – อยู่ขาที A1 ได้ค่าความต้านทานสูง และเมื่อทริกขา G กับขา A1 จะได้ค่าความต้านทานหนึ่ง (สลับขาทริกก็ได้ค่าเดิม)
How Triac Works and Testing ไตรแอกทำงาน ทดสอบอย่างไร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Reed Switch

  รีดสวิตช์ (Reed Swtch) คือ แมกเนติกเซ็นเซอร์ หรือ จะเรียกว่า เซ็นเซอร์แม่เหล็กก็ได้ ลักษณะเป็นแบบหน้าสัมผัส ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้ว จะเป็นหน้าสัมผัสแบบปกติเปิด  แผ่นหน้าสัมผัสจะทำมาจากสารที่มีผล ต่อสนามแม่เหล็ก ทำหน้าที่เป็นสะพานไฟ อยู่ข้างในหลอดแก้วหรืออยู่ใน กระบอะ อาจจะเป็นหลอดแก้วหรือ ลักษณะการออกแบบ ข้างในก็จะมีก๊าซเฉื่อย เพื่อที่จะให้การ ตัดต่อส่งกระแสไฟฟ้านั้นเร็วขึ้น  สวิตช์นี้จะทำงาน โดยอาศัย สนามแม่เหล็กถาวร หรือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าชั่วคราวก็ได้  การทำงานของมันก็คือ เมื่อมีสนามแม่เหล็กเข้ามาใกล้ รีดสวิตช์ ก็จะต่อกระแสไฟฟ้า  หลักการทำงานของ Reed Swtch

การทำงานของ ไตรแอก (Triac)

  การทำงานของ ไตรแอก (Triac) ไตรแอก (Triac)  เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำจำพวกไทริสเตอร์ (Thyristor) อีกชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ SCR แต่สามารถนำกระแสได้สองทิศทาง โดยมีคุณสมบัติเป็นสวิตช์ทางอิเล็กทรอนิกส์  สามารถควบคุมขนาดของกระแสและแรงดันที่จ่ายให้กับโหลดได้ อีกทั้งในการควบคุมการทำงานได้ง่าย ไม่เกิดประกายไฟจากหน้าสัมผัส เพราะอาศัยการเคลื่อนที่ของกระแสอิเล็กตรอนผ่านรอยต่อสารกึ่งตัวนำ  Triac  เป็นอุปกรณ์ Thyristor อีกชนิดหนึ่ง มีขา 3 ขา คือ Anode 1 , Anode 2 และ Gate สามารถนำกระแสได้ 2 ทิศทาง Triac จะสามารถนำไปใช้ควบคุมกำลังไฟฟ้าของโหลดไฟฟ้ากระแสสลับ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมความเร็วของมอเตอร์ ควบคุมแสงสว่างของหลอดไฟฟ้า (Light dimmer) ควบคุมความร้อนของขดลวดความร้อนในเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า หรืองานเกี่ยวกับด้านเครื่องมือแพทย์ Triac ประกอบดัวยรอยต่อของสารกึ่งตัวนำ ซิลิกอน P และ N มีขาต่อออกมาสำหรับใช้งานภายนอก 3 ขา ประกอบด้วย เกต (Gate ;G) แอโนด1 (Anode 1 ; A1 ) และ แอโนด 2 (Anode 2 ; A2 ) ในส่วนของขา A1 และ A2 อาจเขียนเป็น MT1 และ MT2 ก็ได้โดย MT มาจากคำว่า Main terminal  โครงสร้าง สัญลักษณ์ของ Triac